สื่อประกอบการเรียน วิชาเครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เรียบเรียงโดย: อ.รัชวิทย์ เมธีโชติเศรษฐ์ วิทยาลัยเทคนิคลำปาง
เครื่องวัดค่าความต้านทานไฟฟ้า

     เครื่องวัดค่าความต้านทานไฟฟ้าหรือโอห์มมิเตอร์ มีโครงสร้างการทำงาน 3 แบบคือ

     1. โอห์มมิเตอร์แบบอนุกรม (Series Ohmmeter) มีโครงสร้างเป็นวงจรอนุกรมประกอบด้วยแบตเตอรี่ ตัวต้านปรับค่าได้และแอมมิเตอร์ ก่อนทำการวัดให้ต่อปลายสายวัด
และปรับค่าความต้านทานโอห์ม และสเกลความต้านทานจะเพิ่มขึ้นไปทางซ้ายมือจนถึงค่าสูงสุด () เมื่อปลดปลายสายวัดออกเหมาะสำหรับวัดค่าความต้านทานสูง ๆ วงจรการ
ต่อโอห์มมิเตอร์แบบอนุกรม ดังแสดงในรูปที่ 1



รูปที่ 1 วงจรโอห์มมิเตอร์แบบอนุกรม

     2. โอห์มมิเตอร์แบบขนาน (Shunt Ohmmeter) มีโครงสร้างเป็นวงจรขนาน ประกอบด้วย แบตเตอรี่และตัวต้านทานปรับค่าได้ ขนานกับแอมมิเตอร์ อาศัยการแบ่ง
กระแสในวงจรขนาน เช่นเดียวกันกับการขยายย่านการวัดของแอมมิเตอร์ ขณะที่ยังไม่มีการวัดต้องปรับความต้านทานให้เข็มมิเตอร์ชี้เต็มสเกล แสดงค่าความต้านทานสูงสุด
() เมื่อนำค่าความต้านทานที่ต้องการวัดมาต่อคร่อมแอมมิเตอร์ความต้านทานที่วัดจะแบ่งกระแสจากแอมมิเตอร์สเกลของโอห์มมิเตอร์แบบนี้จะมีศูนย์โอห์มอยู่ทางซ้ายมือ
เหมาะสำหรับ ใช้วัดค่าความต้านทานต่ำวงจรการต่อโอห์มมิเตอร์ แบบขนานดังแสดงในรูปที่ 2



รูปที่ 2 วงจรโอห์มมิเตอร์แบบขนาน

3. โอห์มมิเตอร์แบบโปเทนทิโอมิเตอร์ (Potentiometer) โปเทนทิโอมิเตอร์เป็นวงจรโอห์มมิเตอร์ที่นิยมใช้กันมากในมัลติมิเตอร์ทั่ว ๆ ไปวงจรมิเตอร์มูฟเมนต์และความ
ต้านทานปรับค่าศูนย์โอห์มจะต่อคร่อมตัวต้านทานค่ามาตรฐานค่าหนึ่งซึ่งจะเป็นค่าความต้านทานกลางสเกลของมิเตอร์นั่นเองค่าความ ต้านทานสูงสุดจะอยู่ทางซ้ายมือ
และค่าความต้านทานศูนย์โอห์ม จะอยู่ทางขวามือ เช่นเดียวกับโอห์มมิเตอร์แบบอนุกรม วงจรการต่อโอห์มมิเตอร์แบบโปเทนทิโอมิเตอร์ ดังแสดงในรูปที่ 3



รูปที่ 3 วงจรโอห์มมิเตอร์แบบโปเทนทิโอมิเตอร์

การใช้งานโอห์มมิเตอร์
     โอห์มมิเตอร์ที่สร้างขึ้นมาใช้งานจริงนั้นจะมีย่านการวัดค่าความต้านทานหลายย่านการวัดตั้งแต่วัดค่าความต้านทานต่ำ ๆ เป็นโอห์มไปจนถึงค่าความต้านทานสูงเป็น
เมกกะโอห์ม โดยมีสเกลแสดงค่าความต้านทานที่จะวัดได้เพียงสเกลเดียวค่าที่อ่านได้จะถูกต้องเป็นค่าความต้านทานจริง การอ่านต้องปฏิบัติ 2 ประการ คือ ประการแรก อ่านค่าความต้านทาน บนสเกลที่ตำแหน่งเข็มชี้ที่ค่าออกมากประการที่สองดูย่านหน้าปัดที่ตั้งวัดไว้นำมาคูณกับค่าความต้านทานที่อ่านได้บนสเกลค่าที่ออกมาคือค่า ความต้านทานจริงที่วัดได้จากตัวต้านทานตัวนั้น ลักษณะสเกลโอห์มมิเตอร์แบบหลายย่านวัด แสดงในรูปที่ 4



รูปที่ 4 สเกลโอห์มมิเตอร์แบบหลายย่านวัด

     สำหรับย่านการวัดของโอห์มมิเตอร์มีย่านการวัด เช่น X1, X10, X100, X1k และ X10k เป็นต้น การอ่านค่า จึงไม่ยุ่งยากเพียงอ่านค่าบนสเกลที่เข็มชี้ค่านำมาคูณกับย่านวัด ที่ตั้งไว้ก็จะได้ค่าความต้านทานออกมาแต่ละย่านการวัดมีความสามารถวัดค่าได้ดังนี้

ย่าน R x 1 วัดค่าความต้านทานได้ 0 - 500
ย่าน R x 10 วัดค่าความต้านทานได้ 10 - 5k
ย่าน R x 100 วัดค่าความต้านทานได้ 100 - 500k
ย่าน R x 10k วัดค่าความต้านทานได้ 10k - 5M
ย่าน R x 100k วัดค่าความต้านทานได้ 100k - 50M

     สิ่งที่สำคัญของการใช้โอห์มมิเตอร์อยู่ที่การปรับแต่งโอห์มมิเตอร์ให้พร้อมก่อนใช้งาน เพราะโอห์มมิเตอร์มีแบตเตอรี่ต่อร่วมใช้งานในวงจรและมีตัวต้านทานปรับเปลี่ยน ค่าความต้านทานได้ต่อร่วมในการใช้งาน หากแบตเตอรี่มีกำลังไฟอ่อนลงทำให้เข็มของโอห์มมิเตอร์บ่ายเบนไม่เต็มสเกล ขณะต่อสายวัดเข้าด้วยกัน ดังนั้น ก่อนทำการวัดทุกครั้ง ปรับให้เข็มอยู่ที่ศูนย์ทุกครั้ง

  ดาวน์โหลด (Download)
ผู้เรียบเรียง: อ.รัชวิทย์ เมธีโชติเศรษฐ

วิทยาลัยเทคนิคลำปาง เลขที่ 15 ถ.ท่าคราวน้อย ต.สบตุ๋ย อ.เมือง จ. ลำปาง 52100
โทร 0-5422-3006 โทรสาร 0-5422-4426 E - mail : [email protected]