![]() |
||
สื่อประกอบการเรียน
วิชาเครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
เรียบเรียงโดย: อ.รัชวิทย์ เมธีโชติเศรษฐ์ วิทยาลัยเทคนิคลำปาง
|
||
การใช้งานออสซิลโลสโคปวัดกระแสสลับ |
. |
|
การใช้ออสซิลโลสโคปวัดแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับจะได้รูปร่างสัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับที่แสดงบนจอออสซิลโลสโคปเหมือนรูปร่างสัญญาณที่ป้อนเข้ามาการอ่านค่าแรงดัน รูปที่ 1 รูปร่างสัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับ การปรับปุ่มแรงดันต่อช่อง (Volt/Div) จะทำให้สัญญาณปรากฏบนจอใหญ่ขึ้นหรือเล็กลงนั้น จะทำให้ระดับของแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับที่ปรากฏบนจอผิดไปจากเดิม เพราะแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับที่อ่านได้จะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ตั้งไว้ของปุ่มปรับแรงดันต่อช่องคูณกับจำนวนช่องที่นับได้ของสัญญาณทางแนวดิ่ง ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นอัตราส่วนกันอยู่ เมื่อคำนวณค่าออกมาจะยังคงได้ขนาดพอเหมาะอ่านค่าได้ง่ายและแรงดันที่อ่านออกมาได้จะขึ้นอยู่กับการตั้งตำแหน่งการตั้งการลดทอนที่สายวัดด้วย ถ้าหากตำแหน่งการลดทอน อยู่ที่ x1 จะอ่านค่าออกมาได้โดยตรง แต่ถ้าสายวัดโปรบอยู่ที่ x 10 ค่าที่อ่านออกมาได้ต้องนำ 10 ไปคูณด้วย จึงจะได้ค่าแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับจริงจากการวัดค่าแรงดันที่อ่านได้ จากออสซิลโลสโคปในรูปคลื่นซายน์ (Sine) ค่าที่อ่านได้จะไม่เท่ากับค่าที่วัดได้ด้วยเอซีโวลต์มิเตอร์ เพราะการวัดแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับด้วยออสซิลโลสโคปจะอ่านค่าออกมา เป็น Vp หรือ Vp-p ส่วนการวัดด้วยโวลต์มิเตอร์จะอ่านค่าออกมาเป็น Vrms การแปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับจากค่า Vp หรือ Vp-p เป็น Vrmsได้ดังนี้ ตัวอย่างที่ 1 จากรูปร่างสัญญาณในรูปที่ 1 สามารถอ่านค่าได้ดังนี้
ตัวอย่างที่ 2 จากรูปสัญญาณในรูปที่ 2 จงหาค่าแรงดันที่วัดได้โดยสายวัดตั้งค่าที่ x 10
|
||
![]() |
||
วิทยาลัยเทคนิคลำปาง
เลขที่ 15 ถ.ท่าคราวน้อย ต.สบตุ๋ย อ.เมือง จ. ลำปาง 52100 โทร 0-5422-3006 โทรสาร 0-5422-4426 E - mail : [email protected] |